ประวัติความเป็นมาและส่วนประกอบ

ประวัติความเป็นมาและส่วนประกอบ



ทับสะแก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีการปลูกมะพร้าวเป็นพืชหลัก ลักษณะเด่นของมะพร้าวที่นี่ คือ ผลใหญ่ เนื้อหนา ความมันสูง เป็นที่ยอมรับ เลื่องลือว่า เป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่ดีที่สุดของประเทศ มะพร้าวถือว่าเป็นพืชแห่งชีวิต ( Tree of life ) ที่สามารถนำมาทำประโยชน์ได้มากมายนานัปการ ตั้งแต่รากถึงยอด ปัจจุบันได้เป็นพืชเศรษฐกิจหลักอีกตัวของทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามีปัญหาเรื่องผลผลิตตกต่ำบ่อยมาก สร้างความเดือดร้อนให้ชาวสวน เพราะดั้งเดิมจะปลูกมะพร้าวเป็นพืชเดี่ยวๆ เมื่อมีปัญหาเรื่องราคาต่ำ ขายไม่ได้ จึงไม่มีส่วนอื่นมาชดเชย ปัญหาเหล่านี้จึงทำให้ชาวสวนตัดโค่นเพื่อปลูกพืชอื่นทดแทนที่ได้รายได้มากกว่า เช่น ยางพารา ซึ่งระยะเวลาเพียง 4-5 ปี ที่ผ่านมาพื้นที่ปลูกมะพร้าวของจังหวัดลดลงไปเกือบครึ่ง ซึ่งอาจจะกลายเป็นพืชที่หายากและขาดแคลนในอนาคต
ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ช่วงที่ผลผลิตมะพร้าวราคาตก ชาวสวนมะพร้าวหลายรายได้รับความเดือดร้อน เพราะส่วนใหญ่แล้วชาวสวนมะพร้าวจะขายผลมะพร้าวเพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีการแปรรูปเท่าใดนัก คุณขวัญสุภัสสร เทียมเทศ หรือป้าศรี หญิงแกร่งแห่งบ้านนาตาปะขาว หมู่ที่ ๒ ตำบลเขาล้าน อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากราคามะพร้าวตกต่ำเช่นกัน ในช่วงนั้น ป้าศรีเกิดความคิดอยากจะเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตมะพร้าวของตนเอง ประกอบกับได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและความงามจากธรรมชาติที่มีกระแสความนิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการจุดประกายความคิด ให้นึกถึงประโยชน์จากมะพร้าวที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากคนรุ่นพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนทับสะแกที่มีชีวิตผูกพันแน่นแฟ้นกับมะพร้าว ตลอดช่วงอายุขัย เรียกว่า ถ้าเป็นเรื่องมะพร้าวแล้วล่ะก็ คนทับสะแกรู้ดีกว่าใครในโลกนี้ก็ว่าได้ เพราะใช้ประโยชน์จากมะพร้าวกันทุกส่วนตั้งแต่ก่อนกำเนิด กันจนถึงลาโลกนี้ไปกันเลยที่เดียว คิดได้ดังนี้แล้ว ป้าศรีจึงได้เริ่มทดลองทำน้ำมันมะพร้าว ร่วมกับน้องสาว โดยในช่วงแรก ทดลองทำตามแบบสมัยก่อน คือใช้มะพร้าวมาเคี่ยว เพื่อให้ได้น้ำมันมะพร้าว แต่ปรากฏว่าน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตได้ มีสีเหลืองนวล และมีกลิ่นแรง ไม่ใช่สิ่งที่ป้าศรีต้องการ จึงได้เริ่มศึกษาวิธีการทำน้ำมันมะพร้าวให้ใสและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายจากเอกสารทางวิชาการต่าง ซึ่งในช่วงปีแรก การดำเนินงานค่อนข้างเป็นไปแบบ ทดลองทำหลายๆ วิธี โดยไม่ได้ไปรับการอบรม เพียงศึกษาจากเอกสารต่างๆ ซึ่งก็ประสบความล้มเหลวมาตลอด จนกระทั่งช่วงกลางปี พ.ศ.๒๕๕๓ ป้าศรี ก็สามารถผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นได้สำเร็จ และมีคุณภาพ จึงได้ชักชวน เพื่อนๆให้ร่วมกันทำน้ำมันมะพร้าวเพื่อจำหน่าย เป็นการกำเนิดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยเจริญ มีสมาชิกก่อตั้งจำนวน ๑๐ คน แต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกลุ่มกับหน่วยงานใดๆ ซึ่งได้ผลิตสินค้าเกี่ยวกับมะพร้าวในหลายรูปแบบภายใต้ยี่ห้อการค้าว่า นาฬิเกร์ ทั้งสบู่ เครื่องสำอาง ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมสุด ได้แก่ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
ต่อมา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยเจริญ ได้ขึ้นทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับสำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ทำให้ได้รับการส่งเสริมด้านวิชาการด้านการผลิตเพิ่มเติม มีการส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบคุณภาพ ของมาตรฐาน อย. จากสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และในปี พ.ศ.๒๕๕๓ นี้เองที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยเจริญ ได้ส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เข้าตัดสรรสินค้า OTOP ซึ่งผลการคัดสรรได้เป็นสินค้าOTOP ระดับ ๓ ดาว และ ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยเจริญ ได้ปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุใหม่ ละส่งเข้าคัดสรรอีกครั้ง ซึ่งผลจากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทำให้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ตรา นาฬิเกร์ ได้รับการคัดสรรเป็นสินค้า OTOP ระดับ ๕ ดาว ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ นี้เอง

อ่านต่อที่นี้ : http://www.otoptoday.com/wisdom/8612/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99


ส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าว


1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid)
น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่าร้อยละ 90 และกรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณร้อยละ 10 ซึ่งกรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่จะประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน 8-14 ตัว ที่สำคัญ ได้แก่ กรดคาปริก กรดลอริก กรดไมริสติก
กรดไขมันไม่อิ่มตัวประกอบด้วย 2 ชนิด คือ
– กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เป็นกรดไขมันที่มีอะตอมของคาร์บอน 1 ตัว ไม่มีไฮโดรเจน 2 ตัวมาจับจึงต้องจับกันเองกับคาร์บอนอะตอมอื่น
– กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เป็นกรดไขมันที่มีพันธะคู่มากกว่า 1 คู่ มีจำนวนคาร์บอนมากจึงทำให้โมเลกุลยาว เช่น กรดลินโนเลอิก
2. กรดลอริก (Lauric acid)
น้ำมันมะพร้าวมีข้อพิเศษที่ว่าเป็นน้ำมันพืชชนิดเดียวที่มีกรดลอริกเป็นองค์ ประกอบประมาณร้อยละ 48-55 จึงมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมในด้านสุขภาพ และความงามเป็นอย่างมาก
3. วิตามินอี (Vitamin A)
น้ำมันมะพร้าวที่สกัดได้โดยไม่ผ่านกระบวน RBD จะยังคงมีวิตามินอีเหลืออยู่จึงเป็นน้ำมันที่สามารถช่วยเพิ่มคุณสมบัติ และทำให้มีความแตกต่างจากน้ำมันทั่วไปที่มักไม่มีวิตามินอี

  Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

1 ความคิดเห็น: